ประวัติ


ข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติชุมชน/ตำบลโนนสะอาด
ตำบลโนนสะอาด เดิมชื่อบ้านโนนสะอาดอยู่ในเขตการปกครองของตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี
นายเต็น สุวรรณโพธิ์ศรี นายอำเภอกุมภวาปี แยกตำบลปะโค ออกอีกเป็นตำบลโพธิ์ศรีสำราญบ้านโนนสะอาด ขึ้นกับตำบลโพธิ์ศรีสำราญ เป็นหมู่ 5 ในปีพ.ศ.2513 ตั้งกิ่งอำเภอโนนสะอาด และแยกบ้านโนนสะอาด เป็นตำบลโนนสะอาด มีเขตการปกครอง 9 หมู่บ้าน ดังนี้

บ้านโนนสะอาดหมู่ที่  1,2  
               บ้านโนนสะอาด     เดิมเรียกชื่อว่า   “บ้านหนองแวงน้อย”     ก่อตั้งขึ้นโดยการนำพาของเฒ่าแก่ฮวย   แซ่ลิ้ม    อาเจ็กผ่อง    เฒ่าแก่ลี    แป๊ะฮกนายแก้วนายสด    สดงศรีนายอินทร์   ทิศแสงนายมูลมาตรนายทอนายหวด  มานะศรีนายพรม  จันทร์สะอาดนายสุวรรณ  สายืนนายเอบนายเดชานายสวาท  ศิริกิจ   เมื่อประมาณปีพุทธศักราช  2460  ซึ่งบุคคลเหล่านี้  ได้พบเห็นว่า  ทำเลที่ตั้งของหมู่บ้าน  มีแหล่งน้ำ  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์ และเพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงในอนาคต  ซึ่งแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติใกล้บริเวณที่ตั้งหมู่บ้าน  จำนวน  3  แห่ง  คือ     
                  1.  หนองแวงใหญ่    ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นบ่อน้ำ  อยู่ทิศตะวันออกบ้านหนองแวงใหญ่
                  2.  หนองแวงน้อย    ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นบ่อน้ำ  น้ำใช้ตลอดปี  ตั้งอยู่ติดถนนมิตรภาพติดกับสถานีอนามัย
โนนสะอาด
    3.  หนองจาน  ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นบ่อน้ำ  มีน้ำใช้ตลอดปี  โดยใช้งบประมาณของเทศบาลและของกรมชลประทานโดยแหล่งน้ำทั้ง  3  แห่งนี้  มีความสัมพันธ์กันอยู่ในรูปลักษณะ  เป็นรูปคางหมู    บุคคลผู้ร่วมก่อตั้งหมู่บ้านจึงเลือกเอาบริเวณนี้  คือ  ระหว่างกึ่งกลางของหนองแวงน้อยกับหนองจานเป็นที่ตั้งหมู่บ้านหนองแวงน้อย  โดยอาศัยแห่งน้ำทั้ง  2  แห่ง เป็นหัวใจในการทำมาหากิน  เช่น  การปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  ทำไร่  ทำนา  ค้าขาย
                ต่อมาเมื่อประมาณปีพุทธศักราช   2470    ทางราชการได้ขยายทางในการคมนาคม    โดยสำรวจเส้นทางเพื่อทำทางรถไฟเพิ่มจากจังหวัดนครราชสีมา  ไปสู่จังหวัดอุดรธานี   ซึ่งการก่อสร้างถนนต้องผ่านบ้านเรือนของชาวบ้าน   การส่องกล้องถูกตรงเสาเรือนชาวบ้าน  จึงไม่สามารถส่องกล้องเพื่อก่อสร้างต่อไปได้ทางราชการจึงขอความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้า เพื่อให้การดำเนินการได้เสร็จสิ้น    ชาวบ้านได้เข้าใจในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ  มีความสะดวกสบายในอนาคต   จึงอนุญาตให้ตัดเสาบ้านเพื่อการสำรวจเส้นทางต่อไป   ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีระหว่างภาครัฐและประชาชน จากผลกระทบดังกล่าว  ชาวบ้านหนองแวงน้อย   ได้พร้อมใจกันย้ายบ้านออกจากเขตทางหลวงเพื่อทำการก่อสร้างถนน  โดยแบ่งเป็น    2    เส้นทาง    คือ
   เส้นทางที่  1  ไปตั้งบ้านอยู่ทางทิศเหนือของหนองจาน  คือ  บ้านหนองจานหมู่ที่  5ตำบลโนนสะอาด   ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลโนนสะอาด  ในปัจจุบัน
   เส้นทางที่  2   ย้ายขึ้นไปตามทางรถยนต์  ซึ่งเดิมมีการค้าขายของคนจีน  ที่ตั้งขายของที่ตลาดอยู่ทางรถยนต์ใกล้หนองแวง    ด้านทิศเหนือ   ย้ายไปอาศัยอยู่โดยแบ่งเป็นคุ้มโนน   คุ้มใต้ และคุ้มวัด   โดยตลาดซึ่งบรรพบุรุษที่เป็นพ่อค้าชาวจีนและไทย    เป็นผู้นำพาบ้านหนองแวงน้อยก้าวมาสู่ความเจริญจนถึงทุกวันนี้    และเมื่อทางราชการได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟและสถานีรถไฟ  เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ได้ตั้งชื่อสถานีรถไฟ  ว่า  “สถานีโนนสะอาด”   ต่อมาชาวบ้านได้เล็งเห็นความเจริญรุ่งเรืองและชื่อมีความเหมาะสม  จึงเห็นชอบให้มีการเปลี่ยนชื่อบ้านหนองแวงน้อย     มาเป็น  บ้านโนนสะอาด  หมู่  1 และ  หมู่ 2   มาจนถึงทุกวันนี้

บ้านหัวฝาย    หมู่ที่  3  
                 บ้านหัวฝาย     ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาปีพุทธศักราช   2459     เดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลปะโค   อำเภอกุมภวาปี   จังหวัดอุดรธานี   โดยนายที   ซ้ายศรีนายพิม   ภูหัสสวนนายศรีบัว   และนายทน   ศรีเกตุ  ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน  เพราะเห็นว่าสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์   มีป่าดงและลำคลองล้อมรอบหมู่บ้าน  เหมาะที่จะทำการเกษตรได้หลายอย่าง  เช่น  ปลูกมะเขือเทศ  แตงกวา  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  ฝักทอง  แตงไทย    ตลอดจนการทำไร่อ้อยซึ่งผลผลิตมาก  แต่ด้วยเหตุที่บ้านหัวฝายยังไม่ได้มีการกั้นฝาย  เพื่อให้หมู่บ้านได้ผลผลิตทางการเกษตรได้ผลดี  จึงได้รวมตัวกันกั้นหนองฝายขึ้น (ฝาย   หมายถึง    ที่กั้นน้ำกั้น หมายถึง  กีดขวางหรือทำสิ่งที่กีดขวางเพื่อบัง  คั่นหรือกันไว้  เช่น   กั้นน้ำ

บ้านม่วงเฒ่า    หมู่ที่  4  
                 เมื่อประมาณปีพุทธศักราช  2464    หลวงจันทะบาล    ภูหัดสวน   และพวกได้อพยพจากอำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม   มาตั้งรกรากทำมาหากินและได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น และเรียกชื่อว่าบ้านม่วงเฒ่า”   
เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เดิมมีต้นมะม่วงป่าที่มีขนาดใหญ่มาก    มีอายุหลายร้อยปีเกิดขึ้นที่หนองน้ำ 
ชื่อ “หนองวังม่วง”   ซึ่งอยู่ติดกับหนองวังน้ำกิน  ชาวบ้านมองเห็นความสำคัญ จึงใช้เป็นชื่อเรียกขานนามหมู่บ้านเท่าทุกวันนี้

บ้านหนองจาน     หมู่ที่  5  
                 บ้านหนองจาน เดิมเรียกว่า  “คุ้มป่าม่วง” อยู่ในเขตการปกครองของบ้านโนนสะอาด ตำบลโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด    จังหวัดอุดรธานี  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านโนนสะอาดและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น    “คุ้มหนองจาน”  เพราะคุ้มหนองจานจะมีหนองน้ำและมีช้างป่า   ควายป่า มากินน้ำและนอนเล่นน้ำ  ทำให้เกิดเป็นวัง  เป็นหนอง และที่หนองน้ำมีต้นจานใหญ่ต้นหนึ่ง  ออกดอกสีส้มสวยงามเกิดขึ้นบนเกาะกลางหนองน้ำ ปีพุทธศักราช  2500  เมื่อผู้คนมาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นทางราชการ  จึงเปลี่ยนชื่อคุ้มหนองจาน มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านหนองจาน   
  
บ้านโสกรัง หมู่ที่  6  
                บ้านโสกรัง    ก่อตั้งขึ้นเมื่อราษฎรอพยพมาจากจังหวัดมหาสารคาม  โดยทางเกวียนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองแวงน้อย   ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านโนนสะอาด  หมู่ที่ 1,2    และมีที่ดินทำกินอยู่ที่หมู่บ้านโสกรัง  เพื่อทำไร่ 
ทำนา    ซึ่งเมื่อสมัย  60   ปีก่อนเป็นป่าดง  การเดินทางไปประกอบอาชีพไม่สะดวกเหมือนทุกวันนี้    ซึ่งพอถึงฤดูกาลทำไร่  ทำนา   จึงได้ชักชวนกันไปทำกระท่อมพักแรม    บริเวณที่ทำนา   เพราะการคมนาคมลำบาก   ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา  ในครั้งแรกอพยพไปอาศัยอยู่เพียง  2-3  ครอบครัวเท่านั้นต่อมามีผู้คนอพยพมาจากที่ต่าง ๆ  รวมทั้งลูกหลานได้แยกครอบครัวกลายเป็นชุมชนใหญ่     จึงเห็นชอบตั้งชื่อหมู่บ้านโสกรังขึ้น   เพราะสถานที่ตั้งของหมู่บ้านมีสภาพพื้นที่ไม่ราบเรียบ  ไม่สม่ำเสมอ  เป็นที่ลุ่มที่ดิน  เป็นเนิน  ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า  เป็นโคก  เป็นโสก  เป็นฮ่อม 
เวลาฝนตกจะเป็นทางน้ำไหล น้ำตก น้ำลง   ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “น้ำโตนโสก”  ทำให้เป็นแอ่ง เป็นบ่อน้ำลึก 
ประกอบกับบริเวณที่น้ำตกนั้นมีต้นรังใหญ่    ผู้มาก่อตั้งบ้านเรือนจึงเอานามนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน

บ้านโนนสว่างพัฒนา    หมู่ที่  7   
                 บ้านโนนสว่างพัฒนา    เดิมชื่อ   “บ้านโสกรังน้อย”  แยกการปกครองออกจากบ้านโสกรัง หมู่ที่  6 
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช  2495     และต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช  2496  ทางราชการได้ทำการสร้างฝายกั้นน้ำชลประทาน    ทำให้หมู่บ้านได้รับประโยชน์จากชลประทาน  ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาในน้ำ  การปลูกพืชผัก  และมีน้ำใช้ในการอุปโภค  ทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น    จึงเปลี่ยนชื่อเรียกหมู่บ้านใหม่ว่า  “บ้านหัวหนอง  ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช   2519    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค     ได้เข้ามาดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าทำให้หมู่บ้านมีความสว่างไสว    การสัญจรไปมาสะดวกสบายยิ่งขึ้น  และปีพุทธศักราช 2522   ทางราชการได้เล็งเห็นความเจริญของหมู่บ้าน  จึงเปลี่ยนชื่อเรียกขานใหม่ว่า “บ้านโนนสว่างพัฒนา”   เป็นต้นมา

บ้านโนนหยาด  หมู่ที่  8  
                 บ้านโนนหยาด  ได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก  เมื่อปีพุทธศักราช  2512    เดิมขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลโพธิ์ศรีสำราญ   อำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี  โดยมี นายลุน  อินทนนท์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก   และมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน   2   คน  คือ  นายสมบูรณ์  บริบูรณ์   และนายคำ  วงแวงไทย    ต่อมาทางราชการแบ่งการปกครองให้ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี 

บ้านฝายเจริญสุข หมู่ที่  9   
                 บ้านฝายเจริญสุข     เดิมเรียกชื่อบ้านว่า   บ้านหัวฝาย     หมู่ที่  3    และเมื่อปีพุทธศักราช  2542   ได้แยกการปกครองออกจากบ้านหัวฝาย  เนื่องจากมีผู้คนเพิ่มมากขึ้น 

  อาณาเขตติดต่อ                 
ทิศเหนือ                   ติดต่อกับ ตำบล ปะโค อำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้                       ติดต่อกับ ตำบลโคกกลางอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันออก              ติดต่อกับ ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก                ติดด่อกับ ตำบลโพธิ์ศรีสำราญ อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี

ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลโนนสะอาด  มีสภาพเป็นลูกคลื่นลอนลาดสลับที่ดอน และมีพื้นที่ลาดชันเป็นบางส่วนดอนเฉพาะด้านทิศใต้ของตำบล ส่วนทางทิศเหนือ  จะเป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์  ปลูกพืชไร่ (อ้อย) มากกว่าทำนา  ดังนั้น  เกษตรกรส่วนใหญ่จะทำนาเพื่อบริโภค และมีการเลี้ยงปลาตามบ่อในไร่นา ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี มีส่วนน้อยใช้น้ำจากแหล่งน้ำชลประทานโสกรังในการปลูกพืชผัก ในช่วงปลายฝนจะพบปัญหาแล้ง และฝนทิ้งช่วงเกษตรกรจะไม่ปลูกพืชที่ได้รับผลกระทบ ฤดูฝนเกิดปัญหาน้ำฝนชะล้างหน้าดินที่เป็นการถมทับพืชที่ปลูก แต่ผลกระทบต่อพืชการเกษตรมีส่วนน้อย เพราะเกษตรกรจะไม่ค่อยปลูกพืชในบริเวณนั้นซึ่งจะปล่อยให้เป็นที่ป่าและเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่นาจะมีน้ำท่วมบ้างแต่ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนเสียหายคือ  บ่อปลาในไร่นา พื้นที่สูงสูดกว่าระดับน้ำทะเล 230 เมตร

พื้นที่ป่าไม้
          ตำบลโนนสะอาด  มีเขตป่าสงวนที่แปรสภาพ เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และปลูกไม้ยูคาในหมู่ที่ 4 พื้นที่  123  ไร่

สภาพภูมิอากาศ   มี 3 ฤดู คือ
1.       ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  ถึง เดือนตุลาคม  ซึ่งที่เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้ ซึ่งมาจากมหาสมุทรอินเดีย จะมีฝนตกหนักในบางช่วงและมีระยะฝนทิ้งช่วง
2.        ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากอากาศหนาวจากประเทศจีน เคลื่อนตัว
มาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาวเย็นลมแรง
3.       ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน  ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด โดยได้รับ
อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดมาจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีลมร้อนพัดผ่าน
ร้อนจัด

 อุณหภูมิ
ตำบลโนนสะอาดอุณหภูมิในหน้าร้อน จัดโดยเฉลี่ย 26  องศาเซลเซียส และเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน  33  องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 14  องศาเซลเซียส

 สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปแล้วประชาชนผู้มารับบริการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโนนสะอาด  อยู่ในสังคมประเพณีตามบรรพบุรุษ  ประเพณีที่สำคัญ  และมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ได้แก่  ลอยกระทง  บุญบั้งไฟ  ภาษาถิ่นที่ใช้ในการสื่อสารคือภาษาอิสาน  ความเชื่อเรื่องต่าง    ของคนในท้องถิ่นเช่นดอนปู่ตาแต่ละหมู่บ้าน
          เศรษฐกิจที่มาจากภาคเกษตร  ถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่เท่าที่ผ่าน
มาต้องเผชิญกับความเสี่ยงตลอดมาไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ   โรคระบาดต่าง ๆ และยังเผชิญกับความเสี่ยงทางราคา  ด้านการตลาด  ขายผลผลิตไม่ได้  หรือจำหน่ายในราคาต่ำ ไม่คุ้มทุน  ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่มากมาย  เช่นการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง
นอกจากรายได้ที่มาจากการเกษตรแล้ว  ปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการจัดทำผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น 
ตามนโยบาย  “หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์”  ส่งผลให้รายได้ส่วนหนึ่งมาจากภาคเกษตร  ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายอพยพแรงงานลง
พื้นที่การถือครองจำแนกตามการใช้ที่ดิน 
           1.  พื้นที่ทั้งหมด                                        26,875  ไร่
          2.  พื้นที่ปลูกพืช                                        18,358  ไร่
                             -พื้นที่ทำนา                           7,462  ไร่
                             -พื้นที่ทำไร่                           9,995  ไร่
                             -พื้นที่ไม้ผล                              219  ไร่
                             -พื้นที่ปลูกผัก                            437  ไร่
                             -พื้นที่อื่นๆ(สาธารณะ)                  245  ไร่
                   3.  พื้นที่อยู่อาศัย,ตลาด,ส่วนราชการ,ชลประทาน    8,517  ไร่
การประกอบอาชีพ
อาชีพหลัก  คืออาชีพเกษตรทั้งสิ้น  18,358  ไร่  ครอบครัวเกษตรกร  1920  ครอบครัว รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ  23,000  บาท/คน/ปี

   ประชากร
ตารางแสดงจำนวนประชากร
ที่
หมู่บ้าน
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
ประชากร
หมายเหตุ
ชาย
หญิง
รวม
1
2
3
4
5
6
7
8
9
โนนสะอาด
โนนสะอาด
หัวฝาย
ม่วงเฒ่า
หนองจาน
โสกรัง
โนนสว่าง
โนนหยาด
ฝายเจริญสุข
นายประเสริฐ   โยธานนท์
นายไพบูลย์  สมณะ
นางทวี     ชนะกาลี
นายอธิชา  ดีพิษ
นายวิชัย  เค้าแคน
นายอดุลย์   จันทวงษ์
นายอะรุญ  โนรินทร์
นางมณีรัตน์  ปราบจะบก
นายประสิทธ์  ภูแม่น้ำ
1180
800
485
490
365
333
206
211
280
1178
854
507
505
372
339
186
212
342
2358
1654
992
995
737
672
392
.423
622
กำนัน
รวม
4350
4495
8845



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น